บทความ-ข่าวสารน่ารู้


วิถีคิด วิถีคราฟท์(ใหม่ๆ) ณ โหล่งฮิมคาว

ถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพงที่เคยเป็นจุด ท่องเที่ยวสำคัญด้านงานหัตถกรรมหรืองานคราฟท์ของเชียงใหม่ในอดีต ปัจจุบันกลับเงียบเหงาซบเซา ไม่เพียงเพราะผลกระทบจากสถาการณ์โควิด

แต่ก่อนหน้านั้น ความรุ่งเรืองคึกคักสองฝั่งถนนที่เคยคราครํ่าด้วยร้านค้า ขายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมค่อยๆ ทยอยปิดตัวลง หรือไม่ก็โยกย้ายเข้าไปในหรือใกล้ตัวเวียงที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็ว

แต่กระนั้นสันกำแพงยังคงเป็นถิ่นอาศัยของบรรดาสล่าและช่างฝีมือที่ยังคงผลิตงานหัตถกรรมออกมาอย่างสมํ่าเสมอ โดยกระจายอยู่ตามตำบล หมู่บ้านต่างๆ มิได้มาตั้งรวมอยู่กันบนถนนสายสันกำแพงเหมือนดังก่อน และนี่อาจเป็นโจทย์หนึ่งที่ชาวสันกำแพงกลุ่มหนึ่งกำลังร่วมขบคิดกันว่าจะรื้อฟื้นความเป็นย่านงานคราฟท์ของตนให้กลับมาโดดเด่นและมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งได้อย่างไร

อ่านต่อ..


สันกำแพง

พื้นที่สร้างสรรค์ “สันกำแพง” เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Spark U Lanna ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มาของกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ เกิดจากความต้องการของคนในพื้นที่หรือกลุ่ม “คนต้นเรื่อง” ที่ต้องการพัฒนาผ่านกิจกรรมจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ โดยการนำเอาวิธีคิดองค์ความรู้ การสื่อสาร และกลวิธีการสร้างความร่วมมือเข้าไปมีส่วนในการขับเคลื่อนโจทย์สำคัญที่คนในพื้นที่สนใจและพิจารณาร่วมกันแล้วว่ามีความ ต้องการขับเคลื่อนร่วมกัน

โดยพื้นที่ปฏิบัติการการของ Spark lanna ให้ความสาคัญกับการสร้างระบบนิเวศน์สื่อสุขภาวะที่มุ่งให้เกิดปฏิบัติการ Spark U ปลุกใจเมือง ย่านสร้างสรรค์ เชื่อมเครือข่ายงานเพื่อเรียนรู้ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนทรัพยากรและทุนทางสังคม จุดประกายการทำงานของพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและเป็นพื้นที่ต้นแบบระบบนิเวศน์การสื่อสารเพื่อสุขภาวะที่สามารถพัฒนาเป็น แหล่งเรียนรู้แก่พื้นที่อื่นๆ ได้ จากต้นทุนที่มีอยู่เดิมของพื้นที่ พัฒนาต่อยอด ขยายผล ยกระดับ เชื่อมพลังเครือข่าย กลไกการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน “ทุกคน คือ คนสร้างสรรค์พื้นที่สร้างสุข”

อ่านต่อ..


กิจกรรมการเรียนรู้วิชาภูมิปัญญาในรูปแบบฐานการเรียนรู้ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

การฟ้อนของชาวล้านนาในอดีตประกอบด้วยลีลาท่าทางที่เลียนแบบหรือดัดแปลงมาจากธรรมชาติ ฟ้อนพื้นเมืองเป็นการแสดงที่มีลีลาอ่อนช้อย งดงามการฟ้อนจะฟ้อนไปตามจังหวะของดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้มักเป็นเครื่องดนตรีของพื้นเมืองเกือบทุกชนิด

กลองสะบัดชัย ในอดีตจะใช้ตียามออกศีลสงครามเพื่อเป็นศิริมงคล และเป็นขวัญกำ ลังใจให้แกเหล่าทหารหาญในการสู้ให้ได้ชัยชนะ ปัจจุบันนิยมใช้ตีในงานมงคลการตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้าน

"โคมลอย" คนเมืองล้านนา เรียกว่า "ว่าว" แยกออกเป็นสองชนิด คือ "ว่าวโฮม" ปล่อยตอนกลางวัน มีขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายลูกเต๋า มีปากหรือรูที่เล็ก ใช้ควันเป็นแรงอัดอากาศให้ว่าวลอยตัว "ว่าวไฟ" ปล่อยตอนกลางคืน ลักษณะเป็นทรงกระบอก มีปากกว้างเท่าขนาดของตัวว่าวให้ลวดผูกติดไห เพื่อให้ความร้อนเป็นแรงอัดอากาศให้ว่าวลอยตัว คนล้านนา

อ่านต่อ..